Saturday, January 6, 2007

รู้จักเทคโนโลยี CDMA

CDMA ย่อมาจากคำว่า Code-Division Multiple Access
เป็นเทคโนโลยีเซลลูล่าร์ดิจิตอลที่ใช้เทคนิคสเปรดสเป็กตรัม ไม่เหมือนกับระบบอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่งซึ่งใช้ TDMA เช่น GSM แต่ CDMA ไม่กำหนดความถี่เฉพาะสำหรับผู้ใช้แต่ละคน แต่ทุกช่องสัญญาณจะใช้สป็กตรัมที่มีทั้งหมดจนเต็ม
Code Division Multiple Access หรือ CDMA เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท ควอลคอมม์ ซึ่งระบบซีดีเอ็มเอ จะทำหน้าที่แปลงคำพูดเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล และส่งผ่านข้อมูลในรูปของสัญญาณวิทยุไปบนเครือข่ายไร้ สาย
เนื่องจากระบบซีดีเอ็มเอ มีการใช้รหัสที่มีลักษณะเฉพาะในการระบุการโทรแต่ละครั้ง จึงสามารถรองรับผู้ใช้โทรศัพท์จำนวนมากในเวลาเดียวกัน โดยไม่เกิดปัญหาสัญญาณหลุด สัญญาณรบกวน หรือคลื่นแทรก
ระบบซีดีเอ็มเอเริ่มเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ในปี ค.ศ.1995 และกลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของโลกปัจจุบันผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำต่างๆ หลายรายได้นำระบบซีดีเอ็มเอไปใช้ในการให้บริการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลความเร็วสูงให้แก่ผู้ใช้โทรศัพท์มากกว่า 212.5 ล้านรายทั่วโลก
เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอ ในช่วงที่เทคโนโลยีระบบการสื่อสารเคลื่อนที่ในยุคที่ 2 ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้นกว่าเทคโนโลยีในยุคแรก นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มมองหาเทคโนโลยีในยุคแห่งอนาคต เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในขณะนั้นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายจะสามารถรองรับการสื่อสารด้วยเสียงเท่านั้น
อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีการสื่อสารในรูปของข้อมูลด้วยการส่งข้อมูลไปในอากาศผ่านระบบเครือข่ายก็มีแนวโน้มในการพัฒนาเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับตลาดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและผู้ให้บริการข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ความหมายของ W-CDMA

W-CDMA คือ อะไร
เหมือนกับเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่อุตสาหกรรมโทรศัพท์ไร้สายทั้งหมดตกอยู่ในห้วงของคำย่อ นี่คือ ทำไมถึงมีค่ายิ่งจะต้องใช้เวลาสักสองสามนาที เพื่อปรับเป้าหมายให้ตรงกันไปยังระยะเริ่มต้น W-CDMA ย่อมาจาก Wideband Code Division Multiple Access และมันมีความน่าสนใจมากกว่าสิ่งที่ได้ฟัง เหมือนกับ Time Division Multiple Access (TDMA) W-CDMA เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทำงาน W-CDMA คือ อะไรที่เรารู้ว่าเป็น Air Interface หรือ Access Technology ที่จริงแล้ว W-CDMA เป็นอุตสาหกรรมโทรศัพท์ไร้สาย ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดและมีความสลับซับซ้อนของ Air Interface ผู้วิจารณ์ส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า W-CDMA จะเป็นเทคโนโลยีจะเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 Air Interface ของ W-CDMA เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ได้จัดเตรียมการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของผู้ใช้งานกับโครงข่ายหลัก
WCDMA (วายแบนด์ซีดีเอ็มเอ - Wideband Code-Division Multiple Access)
เป็นเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอที่มีมาตรฐานตามข้อกำหนดของไอทียู และเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อว่า IMT-2000 WCDMA เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารระบบไร้สายในยุคที่ 3 และมีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแบบไร้สายผ่านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไร้สายความเร็วสูง โดยมีประสิทธิภาพการทำงานเหนือกว่าเทคโนโลยีทั่วไปที่ใช้ในตลาดในปัจจุบัน วายแบนด์ซีดีเอ็มเอมีประสิทธิภาพในการสื่อสารรับส่งสัญญาณเสียงภาพข้อมูลและภาพวิดีโอด้วย ความเร็วสูงถึง 2 เมกกะบิตต่อวินาที แต่สำหรับการให้บริการในปัจจุบันความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 384 กิโลบิตต่อวินาที (แนวกว้าง wide area access) โดยสัญญาณขาเข้าจะถูกแปรเป็นสัญญาณดิจิตอลและส่งไปเป็นรหัสผ่านแถบคลื่นสัญญาณกระจายไปสู่คลื่นความถี่ต่างๆ ผู้ให้บริการเทคโนโลยีนี้จะใช้แถบคลื่นสัญญาณที่ 5 MHz ซึ่งต่างจากผู้ให้บริการที่ให้บริการเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอในย่านความถี่แคบที่ใช้ช่องสัญญาณที่ 1.25 MHz NTT DoLoMo เป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการ WCDMA ในเชิงพาณิชย์ ในปี 2001 จนในปัจจุบันมีผู้ให้บริการถึง 65 รายทั่วโลก พัฒนาการก้าวต่อไปของเทคโนโลยี WCDMA จะนำไปสู่ความสามารถในการส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงขึ้น ซึ่งเรียกว่า HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 1.8 - 14.4 Mbps

หลักการทำงาน

เทคนิคการเข้าถึงแบบ CDMA
การกระจายสเปกตรัมของ CDMA
ช่องสื่อสารตามมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ CDMA
ช่องสื่อสารขาลงประกอบด้วยช่องสื่อสารทางตรรกจำนวน 4 ช่อง คือ
1.ช่องสื่อสารนำร่อง (Pilot channel)
2.ช่องสื่อสารซิงโครนัส (Sync channel)
3.ช่องสื่อสารเพจจิ้ง (Paging channel)
4. ช่องสื่อสารสำหรับข้อมูล (Forward traffic channel)
ช่องสื่อสารขาขึ้นจะประกอบไปด้วยช่องสื่อสารทางตรรก 2 ประเภท คือ
1.ช่องสื่อสารสำหรับเข้าถึง (Access channel)
2.ช่องสื่อสารสำหรับข้อมูล (Reverse traffic channel)
CDMA transmitter
CDMA NETWORK
การเปรียบเทียบเทคนิคการเข้าถึงแบบหลายทาง
ข้อดีของระบบ CDMA
ความสามารถในการรองรับปริมาณผู้ใช้งาน ที่มากกว่า(Capacity)
การส่งผ่านสัญญาณที่ราบรื่น ลดปัญหาสายหลุด (Soft hand-off)
ความคมชัด และคุณภาพของเสียงในการติดต่อสื่อสาร (Rake Receiver)
ลดความสิ้นเปลืองพลังงานจากแบตเตอรี่(Power Control)
ความปลอดภัยของสัญญาณออกอากาศ

ข้อจำกัดของ CDMA
ข้อจำกัดด้านการรับรองการผลิตอุปกรณ์เครือข่าย และ ลูกข่าย
เกิดความไม่สะดวกในการทำโรมมิ่ง (การควบคุมการย้ายข้ามเซลล์)ในประเทศอื่นๆ ที่มีการใช้ระบบ CDMA เช่นเดียวกัน
ประโยชน์ของ CDMA
เพิ่มประสิทธิภาพของเสียงที่คมชัด ตัดเสียงรบกวนรอบข้าง
การรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วความเร็วสูง
มีความยืดหยุ่นในการใช้งานแถบคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ
ยึดอายุการใช้งานของแบตเตอร์รี่
เป็นระบบที่ทำงานแบบ Synchronization ร่วมกันระหว่างสถานีฐานต่างๆ และโทรศัพท์เคลื่อนที่
สามารถให้บริการลักษณะ Soft Hand-off และ Softer Hand-off
ควบคุมกำลังการส่งคลื่นสัญญาณ (Power Control)
การส่งที่หลากหลาย ซึ่งทำให้สามารถรับส่งข้อมูลระหว่างสถานีฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
แบ่งช่องสัญญาณเสียงและข้อมูล
มีช่องสัญญาณข้อมูล (Traffic Channel) ทั้ง Circuit Mode และ Packet Mode
มีช่องสัญญาณ Supplemental Channel สำหรับรับส่งข้อมูลในลักษณะ Packet Mode
เพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการส่งข้อมูลความเร็วสูงด้วย Turbo Coding เพื่อป้องกันการส่งข้อมูลผิดพลาด

การติดตั้งเสาสัญญาณ
การต่อสายดิน
การติดตั้งเสาส่งแบบต่าง ๆ

องค์ประกอบ

องค์ประกอบของแต่ละข้อมูลแยกจากกันได้ถูกออกแบบให้เป็นแบบ Unique Sequence Code ในที่สุด CDMA ใช้งานระบบการหาตำแหน่งทั่วโลกไปสู่ Time-Stamp ของข้อมูลที่เตรียมข้อมูลข่าวสารในอนาคตสำหรับในขั้นตอนการฟื้นกลับมา การเข้าถึงการกระจายสเปกตรัมหมายความว่า โครงข่าย CDMA ที่นำมาสาธิตการใช้งานได้ ที่แสดงถึงค่าแตกต่าง ของแทรฟฟิกในเรื่องของการเชื่อมโยงไปสู่ช่องวิทยุที่ถูกสร้างขึ้นมา ผลประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ที่เข้าใกล้ CDMA ที่ตัวเราเอง เทคโนโลยี CDMA ได้จัดเตรียมช่องที่มีขนาดใหญ่มากสำหรับนำข้อมูล นี่หมายความว่า จำนวนสูงสุดบนช่องสัญญาณย่านความถี่ W-CDMA มีขนาดใหญ่กว่าที่เราพบเห็นกันอย่างกว้างขวางที่ใช้งานในระบบ TDMA ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าภาพรวมของทั้งหมดควรจะแสดงให้เห็นในข้อดีจำนวนมาก การเข้าถึงระบบ CDMA ที่รองรับข้อมูล และความถี่ ที่ถูกนำมาพิจารณานั้นมีความสลับซับซ้อนมากกว่ารูปร่างอื่นๆ ที่อยู่ในโครงร่างระบบอื่นๆ เรากำลังจะพิจารณาข้อดีหลัก และปัญหาที่ถูกรวบรวมไว้กับ W-CDMA ซึ่งเป็นการเข้าถึงระบบด้วย W-CDMA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการเข้าถึง การที่มีความสามารถที่จะกล่าวว่า ถ้า CDMA นั้นมีความสลับซับซ้อน ดังนั้น W-CDMA จึงมีนัยสำคัญที่เสริมกับความสลับซับซ้อน

มาตรฐาน (Standard)

ในปี ค.ศ.1999 สมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ (The International Telecommunication Union) ได้กำหนดมาตรฐานระบบการสื่อสารไร้สายในยุคที่ 3 ให้สามารถรับส่งข้อมูลความเร็วสูงพร้อมทั้งกำหนดคุณสมบัติใหม่ในด้านอื่นๆ โดยปรากฎว่า มีเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอถึง 3 ระบบที่ได้รับการรับรองให้เป็นมาตรฐานการสื่อสารระดับ 3G และในปัจจุบันมีผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมชั้นนำมากกว่า 902 รายทั่วโลกได้ขอซื้อลิขสิทธิ์ซีดีเอ็มเอไปใช้ในการผลิตอุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐาน 3G (Note 1. ที่มา :CDG.org 2. ที่มา :qualcomm.com )
CDMA2000 1X
รองรับเสียงและข้อมูล เทคโนโลยี CDMA2000 1X สามารถรองรับการส่งสัญญาณทั้งในรูปของเสียงและข้อมูลผ่านช่องสัญญาณระบบซีดีเอ็มเอมาตรฐานขนาด 1.25MHz ซึ่งให้ประสิทธิภาพเหนือกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ หลายประการ
ข้อที่ 1 ระบบซีดีเอ็มเอที่พัฒนาขึ้นใหม่มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบซีดีเอ็มเอในยุคแรกถึง 2 เท่า (รวมทั้งมีประสิทธิภาพเหนือชั้นกว่าระบบทีดีเอ็มเอ และจีเอสเอ็ม) ทั้งยังสามารถรองรับการให้บริการด้านเสียงที่มีปริมาณการใช้งานเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สายในรูปแบบใหม่ๆ
ข้อที่ 2 ระบบ CDMA2000 1X สามารถรับส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วโดยเฉลี่ยที่ 50-90 kbps (ซึ่งเร็วกว่าความเร็วโดยเฉลี่ยในการต่อสัญญาณโทรศัพท์) โดยมีอัตราการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 153 kbps โทรศัพท์ระบบ CDMA2000 1X ยังสามารถเปิดเครื่องรอรับสายได้นานกว่า เนื่องจากระบบ CDMA2000 1X ได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอในยุคแรก จึงทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถอัพเกรดระบบของตนได้อย่างง่ายดายและในราคาประหยัดสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถใช้เครื่องเดิมของตนติดต่อผ่านโครงข่ายที่ได้รับการอัพเกรดใหม่โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องแต่อย่างใด
CDMA2000 1xEV-DO ส่งข้อมูลความเร็วสูงอย่างมีประสิทธิภาพ การบริการส่งข้อมูลความเร็วสูงหรือต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งข้อมูล ระบบ CDMA2000 1xEV-DO จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่า 2 Mbps โดยมีค่าเฉลี่ยความเร็วมากกว่า 700 kbps เทียบเท่ากับการส่งสัญญาณด้วยสายแบบ DSL และมีความเร็วเพียงพอที่จะรองรับการใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลความเร็วสูง อาทิ ภาพวิดีโอ และการดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่
ทั้งนี้ การส่งข้อมูลด้วยระบบ CDMA2000 1xEV-DO นับเป็นเทคโนโลยีการส่งข้อมูลที่มีต้นทุนต่ำที่สุด เมื่อคิดเป็นต้นทุนต่อเมกะไบต์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การใช้อินเตอร์เน็ตไร้สายเป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว
อุปกรณ์ 1xEV-DO ยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลแบบแพคเก็ท "always-on" ซึ่งช่วยให้การใช้ระบบไร้สายมีความสะดวกรวดเร็วและเกิดประโยชน์มากกว่าที่เคยเป็นมา เมื่อผนวกเทคโนโลยีระบบ 1X และ 1xEV-DO เข้าด้วยกัน (ในกรณีที่จำเป็น) CDMA2000 จึงเป็นโซลูชั่นสมบูรณ์แบบที่มีความยืดหยุ่นและสามารถขยายขีดความสามารถให้มีสมรรถนะสูงสุด อีกทั้งมีค่าเฉลี่ยความเร็วในการส่งสัญญาณทั้งข้อมูลและเสียงที่มีความเร็วสูงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทางเลือกและการใช้งาน




ทางเลือกของ 3G คือ CDMA



เมื่อปี 1999 The International Telecommunication Union (ITU) ซึ่งเป็นองค์กรกลางของ United Nation (UN) ได้รับรองมาตรฐานของเครือข่ายโทรคมนาคม ไร้สายยุคที่ 3 ไว้เป็นมาตรฐานของสัญญาณการ ส่งออกอากาศเรียกว่า International Mobile Telecommunication 2000 (IMT-2000) ซึ่งได้มีข้อตกลงทั้งหมด 5 ประเภท 3ใน 5 ประเภท มีพื้นฐาน และ การพัฒนามาจาก CDMA แต่มีความแตกต่างกัน และ มีชื่อเรียกต่างกันไปคือ WCDMA, CDMA200, และ TD-SCDMAในมาตรฐานของ IMT-2000 นี้ ระบบ WCDMA และ CDMA2000 เป็นแบบที่มีความโดดเด่น และ มีการตกลงร่วมกันของบริษัทโทรคมนาคม ต่างที่จะใช้ทั้ง 2 ระบบนี้มากที่สุด

ITU recommended “IMT-2000 Terrestrial Radio Interface”


ในประเทศแถบยุโรปผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่ใช้ระบบ GSM และตกลงจะใช้ระบบ WCDMA ซึ่งมีการสร้างมาตรฐานร่วมกันคือ UMTS : Universal Mobile Telecommunication System โดยมีข้อกำหนดที่สำคัญคือการใช้ความถี่ 2 GHz และ ทุกประเทศที่ใช้ UMTS จะใช้ความถี่ที่ 5 MHz ต่อช่องสัญญาณ ในขณะเดียวกันบริษัท Qualcomm ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ CDMAOne ( IS95A/B ) ได้นำเสนอเทคโนโลยี CDMA2000 ให้เป็นมาตรฐานของ 3G โดยยกข้อดีที่ใช้ความถ ี่กว้างเพียง 1.25 MHz และ ความสามารถที่นำไปใช้ได้ในคลื่นความถี่ต่างๆ กัน เช่น 800 MHz, 1800 MHz และ 1900 MHz โดยไม่จำกัดที่ความถี่ 2 GHz อย่างเช่นของ UMTS ระบบ CDMA20001x ยังมีแผนการพัฒนาระบบให้เร็วขึ้นไปเป็น CDMA20001xEV ที่ได้รับการรับรองเป็นส่วนหนึ่งของ มาตรฐาน IMT-2000 ที่ ITU กำหนดขณะนี้ CDMA2000 เปิดให้บริการมาเกือบ 2 ปี และเป็นระบบแรกของ IMT2000 ที่ใช้งานได้จริง ในประเทศเกาหลี SK Telecomm เปิดให้บริการในเดือนตุลาคม ปี2000 ใช้เทคโนโลยี CDMA 20001x และ ต่อมาเมื่อในเดือนมกราคม 2002 ก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลก SK Telecom เปิดบริการ CDMA 20001x EV-DO (Evolution – Data only) ที่เพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลให้สูงถึง 204 Mbps ขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ใช้บริการ CDMA2000 เป็นจำนวนถึง 15 ล้านคน (ขณะที่ UMTS ยังคงอยู่ในขั้นของการดำเนินงาน และ ยังไม่มี ผู้ให้บริการรายใดพร้อมที่จะให้บริการ -Aug,2002) CDMA20001x เพิ่มความสามารถในการรองรับผู้ใช้โทรศัพท์ได้มากกว่าระบบ CDMAOne ถึงเท่าตัว รับส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 153 Kbps (Release 0) และ 307 Kbps (Release 1) เครื่องลูกค่ายของ CDMA2000 สามารถใช้งานกับNetwork CDMAOne ของระบบเดิมได้ และเครื่องลูกค่ายของ CDMAOne ก็สามารถใช้งานกับ Network ของ CDMA2000 ได้ การอัพเกรดระบบจึงมีผลกระทบกับผู้ใช้บริการน้อยมากCDMA2000 สามารถพัฒนาความเร็วให้มากขึ้น ในขั้น CDMA20001x EV-DO และ CDMA20001x EV-DV ที่ให้บริการได้ด้วยความเร็วมากกว่า 2 Mbps และ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนถูกกว่าระบบ UMTS เพราะบริษัท KDDI (Japan) ลงทุนเพียง 25% สำหรับค่าใช้จ่ายในการอัพเกรดระบบจาก CDMAOne ให้เป็น CDMA20001x, เมื่อเทียบกับที่ NTT DoCoMo ใช้ลงทุนในระบบ FOMA (WCDMA)
1. CDMA คือ CDMA (Code Division Multiple Access) หรือ นิยมเรียกกันว่า IS-95 ซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการคือ TIA/EIA-95B บริษัท Qualcomm จาก Sandiago, California USA เป็นผู้พัฒนาระบบ CDMA โดยใช้ Spread Spectrum TechniqueSpread Spectrum ไม่ได้ให้ช่องสัญญาณ หรือ แบ่งเป็น Timeslot เช่นระบบ TDMA แต่ CDMA ใช้วิธีให้ทุกคนใช้ความถี่เดียวกันพร้อมๆ กัน เช่นเดียวกับ สถานีวิทยุที่ออกอากาศ ในความถี่ เดียวกัน ในเวลาและสถานที่เดียวกัน
2. การแยกสัญญาณ CDMA มีวิธีการแบ่งแต่ละสัญญาณด้วยรหัส (Code Division) ผู้ใช้โทรศัพท์ CDMA จะได้รับ Code ที่แตกต่างกัน โดย Code ที่ผู้ใช้แต่ละคนได้รับจะไม่ซ้ำกัน เพราะ วิศวกรออกแบบให้มีถึง 4.4 ล้านล้าน (Trillion Code) ซึ่งเป็นข้อกำหนดของ CDMA (PN Long Code) ขณะเดียวกันสถานีฐานก็มีCode แยกต่างหาก เพื่อแยกว่ารับสัญญาณจากสถานีฐานไหน (PN Short Code) หลังจากที่เครื่อง

CDMA ทำการเข้ารหัสระบบจึงจะส่งสัญญาณออกอากาศ ระบบ CDMA ใช้ความถี่ 1.25 MHz (1,250 Hz) ซึ่งเมื่อเทียบกับ 30 KHz (Amps) และ 200 KHz (GSM) CDMA ใช้ช่องความถี่กว้างกว่าระบบที่กล่าวมามาก CDMA ให้ความถี่เดียวกับผู้ใช้ทุกคน และสามารถนำความถี่เดิมไปใช้อีก (Universal Frequency Reuse) ซึ่งช่วยลดปัญหาการวางแผนความถี่ (Frequency Planning) CDMA ใช้วิธี Spreading signal คือการแปลงสัญญาณเสียงเป็น Digital และ ขยาย (Spread) ด้วย Code แบบ 0 และ 1 ข้อมูล (Voice หรือ Data) จะถูกขยายด้วย Code จำนวน Bit จะเพิ่มขึ้นก่อนส่งออกอากาศ จึงต้องใช้ช่องสัญญาณที่กว้าง ข้อดีของการ Spreading คือ สัญญาณจะขยายมากขึ้นถึง 21 dB จึงไม่จำเป็นต้องใช้กำลังส่งสูง CDMA มีการควบคุมกำลังส่ง ที่ช่วยให้การส่งสัญญาณเป็นไปอย่างเหมาะสม เช่น หาก MS อยู่ใกล้กับ BTS จะใช้กำลังส่งน้อย ผู้ใช้จึงสนทนาได้นานขึ้นโดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่น้อยลง ทั้งยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของโทรศัพท์ TDMA และ CDMA ถือได้ว่าเป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 (2G)
3. ข้อดีของระบบ CDMA
(1). ความสามารถในการรองรับปริมาณผู้ใช้งาน ที่มากกว่า (Capacity) CDMA เป็นเทคโนโลยีที่แก้ไขข้อจำกัดของ การสื่อสารไร้สาย ในเรื่องความจุของช่องสัญญาณ เนื่องจากระบบ CDMA จะลดข้อมูลในการส่ง สัญญาณลงเมื่อไม่มีการพูด ดังที่กล่าวถึงในเรื่อง Voice activity เมื่อไม่มีข้อมูลที่จะส่งหรือมีน้อย กำลังส่งจะลดลง สัญญาณรบกวนในระบบมีน้อย และความยืดหยุ่น ของรูปแบบการส่งข้อมูล (Radio Configuration) ทำให้ CDMA รองรับผู้ใช้บริการได้มากกว่า และ บริหารทรัพยากรได้เหมาะสมกว่าระบบอื่นๆ (2). การส่งผ่านสัญญาณที่ราบรื่น ลดปัญหาสายหลุด (Soft hand-off) การส่งผ่านสัญญาณ(Handoff) ของเครือข่าย CDMAในบริเวณที่มีการเชื่อมต่อระหว่าง สถานีฐาน เครื่องลูกข่ายจะทำการส่งสัญญาณเชื่อมต่อกับหลายสถานีฐานพร้อมกัน (Soft handoff) เพื่อให้ได้สัญญาณที่ชัดเจนที่สุด ก่อนที่จะเลือกส่งผ่านสัญญาณไปที่สถานีฐานที่มี สัญญาณชัดเจนที่สุด ต่างจากระบบอื่นที่เชื่อมต่อสัญญาณได้เพียงครั้งละหนึ่งสถานีฐาน (Hard Handoff) การมี Soft Handoff สามารถลดจำนวนครั้ง และ ความถี่ของปัญหาสายหลุด ลดสัญญาณรบกวน ผู้ใช้จะสามารถสื่อสารอย่างราบรื่น และต่อเนื่อง
(3). ความคมชัด และคุณภาพของเสียงในการติดต่อสื่อสาร (Rake Receiver) ความคมชัด และ คุณภาพของเสียง ในการติดต่อสื่อสารที่เหนือกว่าระบบอื่น ด้วยเทคโนโลยี 2G ที่รวมสัญญาณจากทุกทิศทาง (Multi-path Advantage) เพื่อให้ได้สัญญาณที่เข้ม และ หนาแน่น ตามปกติสัญญาณวิทยุจะมีการสะท้อนกับวัตถุรอบ ข้าง เช่น ภูเขา, ตึก, สิ่งก่อสร้าง, พื้นน้ำ ซึ่งสัญญาณตรง และสัญญาณสะท้อนมักจะรบกวนกัน แต่ระบบ CDMA มีชุดรับสัญญาณถึง 3 ชุด (Rake Receiver) ในการรับสัญญาณแต่ละครั้ง โดยเครื่องจะเลือกประมวลสัญญาณที่ชัดเจน ที่สุดซึ่งเทคนิคการประมวลสัญญาณเสียงของระบบ CDMA จะทำให้ได้เสียงที่มีคุณเสียงที่มีคุณภาพ เพื่อการสนทนาที่ชัดเจน และ ลดเสียงรบกวนให้น้อยที่สุด
(4). ลดความสิ้นเปลืองพลังงานจากแบตเตอรี่(Power Control) ด้วยเทคโนโลยี การประมวลสัญญาณเสียง และ การตรวจสอบสัญญาณ ระหว่างเครื่องลูกข่าย และ สถานีฐานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการควบคุมกำลังส่ง (Power control) เมื่อเครื่องลูกค่ายอยู่ใกล ้สถานีฐานหรือสัญญาณมีความชัดเจนมาก กำลังส่งจะลดลงโดยการใช้กำลังส่งที่เหมาะสม กับการใช้งาน ทำให้การรบกวนของสัญญาณลดลง และ การส่งสัญญาณแบบยืดหยุ่น ผู้ใช้จึงสามารถสนทนาได้นานขึ้น โดยสิ้นเปลืองพลังงานของแบตเตอรี่น้อยลง ทั้งยังยืดอายุ การใช้งานของแบตเตอรี่
(5). ความปลอดภัยของสัญญาณออกอากาศ ผู้ใช้มั่นใจได้ว่า ทุกการสื่อสาร และการรับส่งข้อมูลจะปลอดภัย และ เป็นส่วนตัว เนื่องจากการ ส่ง สัญญาณของระบบ CDMA ที่ใช้รหัส (codes) หลายชุด เช่น PN Long Code, PN Short Code, Walsh code ซึ่ง PN Long Code มีหน่วยของรหัสมากถึง 4.4 ล้านล้านหลัก รหัสเหล่านี้นอกจากจะช่วยในการแบ่งแยกผู้ใช้งานในระบบ CDMA แล้ว ยังจะช่วยป้องกัน การลอกเลียนแบบ และลดความผิดพลาดในการสื่อสารของระบบ CDMA อีกด้วย

ความน่าสนใจของเทคโนโลยี

ทิศทางการเติบโตของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 บนมาตรฐานเทคโนโลยี CDMA
CDMA (Code Division Multiple Access) หรือ นิยมเรียกกันว่า IS-95 ซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการคือ TIA/EIA-95B บริษัท Qualcomm จาก Santiago, California USA เป็นผู้พัฒนาระบบ CDMA โดยใช้ Spread Spectrum Technique Spread Spectrum ไม่ได้ให้ช่องสัญญาณ หรือ แบ่งเป็น Timeslot เช่นระบบ TDMA แต่ CDMA ใช้เทคโนโลยีจัดสรรคลื่นสัญญาณโดยการนำข้อมูลต่างๆ มาทำการเข้ารหัสเฉพาะ (Unique Code) เพื่อสามารถจัดส่งรวมกันไปในย่านความถี่เดียวกันได้ และด้วยลักษณะการทำงานเช่นนี้ การใช้ทรัพยากรความถี่จึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบ CDMA จะมีการใช้งานย่านความถี่ตลอดย่าน โดยมีการเข้ารหัสของข้อมูล (Code) ซึ่งรหัสของช่องสัญญาณนั้นจะแตกต่างกัน หลังจากนั้น ข้อมูลของทุกช่องสัญญาณจะถูกส่งปะปนไปบนย่านความถี่เดียวกัน และท้ายที่สุด ข้อมูลที่ปะปนกันดังกล่าวจะถูกแยกออกมาได้ โดยอุปกรณ์ปลายทาง ที่ใช้รหัสชุดเดียวกับข้อมูลในช่องสัญญาณเดียวกัน ด้วยคุณสมบัติทางเทคนิคดังกล่าว ระบบ CDMA จึงรองรับจำนวนผู้ใช้ในคลื่นความถี่ต่อเมกะเฮิรตซ์มากกว่าระบบอื่นๆ นั่นหมายความว่า CDMA สามารถรองรับปริมาณคู่สายได้มากกว่า โดยที่ไม่จำเป็นต้องเพิ่มย่านความถี่ใหม่ และถือเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่ามากกว่า นอกจากนี้ ข้อดีอื่นๆ ของ CDMA คือ ปัญหาสายหลุดระหว่างการใช้โทรศัพท์จะลดน้อยลง เนื่องจากระบบ CDMA มีความทนทานต่อสัญญาณรบกวนสูง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสายซ้อน สายหลุด เสียงขาดหาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นบ่อยครั้งบนระบบ TDMA (GSM) ในกรณีที่เสาสัญญาณของผู้ให้บริการรายต่างๆ ได้ติดตั้งไว้ใกล้กัน จนเกิดการรบกวนของสัญญาณขึ้นมากกว่า 128 ล้านคนทั่วโลก ได้ตอบรับเทคโนโลยี 3G wireless การให้บริการพื้นฐานบนระบบCDMA2000 และ WCDMA (UMTS) การบริการบนพื้นฐานเหล่านี้ ITU ยืนยันด้วยมาตรฐาน โดยสร้าง 104 โอเปอร์เรเตอร์ ใน 46 ประเทศ ซึ่งระบบ 3G มีการจัดเตรียมความจุมากกว่า ระบบสองมิติ (2G)ทั้งการสนับสนุนมัลติมีเดีย และการบริการข้อมูลความเร็วสูงโดย CDMA2000, CDMA20001X , CDMA20001xEV-DO, WCDMA คือ พื้นฐานบน

CDMA
CDMA2000 ถูกทำเป็นการค้าเพื่อหวังผลกำไรในตุลาคม 2000 ในเกาหลีทิศใต้ เพราะว่าต่อมา, มากกว่า 70 โอเปอร์เรเตอร์บน 6 ทวีป ได้สร้างการบริการที่เครือข่าย CDMA2000 เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี cdmaOne ให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการเสียงและข้อมูลที่มีความเร็วสูงเพิ่มมากขึ้นCDMA20001X (ซีดีเอ็มเอ ทูเทาซันด์ วันเอ็กซ์) ระบบ CDMA ตัวนี้ จัดเป็นระบบโทรศัพท์ เคลื่อนที่ความเร็วสูง ที่สามารถตอบสนองการทำงานมัลติมีเดียแบบครบวงจร CDMA 2000 1X มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดประมาณ 300 Kbps (ใช้งานจริง 150 Kbps) ซึ่งสามารถรองรับการติดต่อสื่อสารด้วยบริการต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารที่มีประโยชน์ หรือข้อมูลแบบมัลติมีเดีย เช่น การส่งไฟล์ภาพดิจิตอล เล่นเกม หรือ ร้องคาราโอเกะ เป็นต้น


CDMA2000 1xEV-DO (First Evolution, Data Optimized ) คือวิวัฒนาการหนึ่งวิวัฒนาการของ CDMA2000 และมาตรฐาน 3G อย่างแท้จริง สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึงระดับ 2 เมกะบิตต่อวินาที และจัดเป็นความเร็วสำหรับยุค 3G โดย ระบบ 1x EV-DO เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่มีระบบการส่งสัญญาณข้อมูลแบบแพคเก็ตที่มีประสิทธิภาพและ ความเร็วสูง ต้นทุนต่ำ เหมาะสำหรับผู้บริโภคทั่วไป รวมถึงผู้ใช้ที่ต้องการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตแบบไร้สายได้ครอบคลุมพื้นที่กว้างไกล 1xEV-DO เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี CDMA 2000 และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล CDMA 2000 ที่ได้รับการยอมรับจาก สมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( ITU ) ให้เป็นเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานการสื่อสารไร้สายยุค 3 G CDMA 20001xEV-DO ให้บริการรับ-ส่งข้อมูลไร้สายที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง พร้อมด้วยรูปแบบการใช้งานที่ง่าย โดยมีลักษณะการทำงานใกล้เคียงกับการใช้งานบนอินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย อุปกรณ์การสื่อสารที่รองรับระบบ 1xEV-DO ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์การสื่อสารไร้สายประเภทอื่นๆ อาทิ โทรศัพท์มือถือ เครื่องพีดีเอ ที่รองรับการทำงานทั้งข้อมูลและเสียง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก รวมถึงโมเด็มสำหรับรับ-ส่งข้อมูล ได้แก่ การ์ด PCMCIA และโมเด็มแบบ stand-aloneการใช้งานเทคโนโลยี 1xEV-DO เชิงพาณิชย์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2545 จวบจนกระทั่งในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการการสื่อสารเคลื่อนที่ระบบ 1xEV-DO มากกว่า 9 ล้านคน และคาดว่าจะผู้เปิดให้บริการระบบนี้อีกหลายเครือข่ายภายในปีนี้และปีหน้าWideband CDMA เทคโนโลยี WCDMA ทำงานบนแถบความถี่กว้างที่ 10 MHz และเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุค 3G ที่ได้รับรองโดย ITU โดยใช้ช่องความถี่สำหรับการส่งและรับสัญญาณระหว่างเครื่องมือถือกับสถานีฐานช่องละ 5 MHz ซึ่งสามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดถึง 2 Mbps ระบบ WCDMA เป็นเทคโนโลยีหนึ่งในมาตรฐาน IMT-2000 และเป็นที่รู้จักในภูมิภาคยุโรปในชื่อของระบบ UMTS Wideband CDMA มีประสิทธิภาพในการสื่อสารรับส่งสัญญาณเสียงภาพข้อมูลและภาพวิดีโอด้วย ความเร็วสูงถึง 2 Mbps แต่สำหรับการให้บริการในปัจจุบันความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 384 Kbps (แนวกว้าง wide area access) โดยสัญญาณขาเข้าจะถูกแปรเป็นสัญญาณดิจิตอลและส่งไปเป็นรหัสผ่านแถบคลื่นสัญญาณกระจายไปสู่คลื่นความถี่ต่างๆผู้ให้บริการเทคโนโลยีนี้จะใช้แถบคลื่นสัญญาณที่ 5 MHz ซึ่งต่างจากผู้ให้บริการที่ให้บริการเทคโนโลยี CDMA ในย่านความถี่แคบที่ใช้ช่องสัญญาณที่ 1.25 MHz NTT DoLoMo เป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการ WCDMA ในเชิงพาณิชย์ ในปี 2001 จนในปัจจุบันมีผู้ให้บริการถึง 65 รายทั่วโลก

สรุป
::CDMA 2000 1X
เทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย ที่สามารถให้บริการทั้งทางเสียงและข้อมูลที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในโลกในขณะนี้
CDMA 2000 1x EV-D0
ให้บริการ ด้านการรับ - ส่งข้อมูลไร้สายที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูงพร้อมด้วยรูปแบบการใช้งานที่ง่าย โดยมีลักษณะการทำงานใกล้เคียงกับการใช้งานบนอินเตอร-์เน็ตแบบไร้สาย
::CDMA 2000 1x EV-D0
เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย ในยุคที่ 3และมีประสิทธิภาพในการรับ-ส่งข้อมูลแบบไร้สาย ผ่านโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ไร้สายความเร็วสูง

ข้อมูลที่น่าสนใจ

อนาคตของโทรศัพท์ไร้สาย
...เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระยะยาวไม่ใช่แต่เพียงแค่เสียงเท่านั้น จากปริมาณจำนวนการใช้งาน ที่มีการรับและส่งข้อความ มีจำนวนนับพันล้านข้อความ ในแต่ละเดือน และผู้ใช้งานส่วนใหญ่กำลังเริ่มต้นใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างแท้จริง เพื่อแสดงถึงการสื่อความหมายได้มากกว่าความสะดวกสบายในการสนทนาขณะกำลังเคลื่อนที่ อันเป็นยุคของอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ (Mobile Internet) ซึ่งอยู่กับตัวเรา แต่ย้อนกลับมาเรื่องข้อมูลเคลื่อนที่อีกครั้งหนึ่งที่นอกเหนือจากการส่งสัญญาณที่เป็นการฝากข้อความแบบตัวอักษรอย่างง่ายๆ ความเร็วและความจุของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้กลายประเด็นในยามวิกฤติ ไม่ต้องเป็นที่สงสัยเลยว่าศักยภาพกำลังเป็นเรื่องที่สร้างความตื่นเต้น เริ่มต้นด้วย e-mail ที่กำลังเคลื่อนที่ และที่เต็มไปด้วยสถานที่ทำงานเคลื่อนที่ m-Commerce และบริการการกำหนดตำแหน่งพื้นฐาน (Local-based services) และกำลังดำเนินการต่อไป ถึงภาพที่เต็มไปด้วยลักษณะพิเศษ และการใช้งานวิดีโอ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคถัดไป มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และการทำงานของเรา อย่างไรก็ตามผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประการแรก ต้องสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าของเขา ในเรื่องของประวัติบริการใหม่ ที่กำลังนำมาใช้งานที่มีค่ายิ่ง นี่หมายความว่านับจากวันแรกที่ผลิตภัณฑ์อินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ จะต้องเสนอประสบการณ์ที่สำคัญยิ่งแก่ลูกค้า สำหรับบริการที่ก้าวหน้าเหล่านี้ เพื่อได้รับประโยชน์ และกลายเป็นผลกำไร จะต้องเน้นกลุ่มลูกค้าในระดับสูง และเป็นโครงข่ายใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง

สรุป CDMA

CDMA - (Code Division Multiple Access) ก้าวแรกแห่งประสิทธิภาพในยุค 3GCode Division Multiple Access (CDMA) จัดเป็นระบบโทรศัพท์มือถือที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมา เทคนิคการส่งสัญญาณแบบ 'เข้ารหัส' ชนิดนี้ ถูกมองว่าเป็นเทคนิคการส่งสัญญาณสำหรับโทรศัพท์มือถือยุคอนาคต ซึ่งก็คือยุค 3G หรือคลื่นลูกที่ 3 ของเทคโนโลยีการส่งข้อมูลที่กำลังจะเกิดขึ้น

………………….

ระบบ CDMA ใช้เทคโนโลยีจัดสรรคลื่นสัญญาณโดยการนำข้อมูลต่างๆ มาทำการเข้ารหัสเฉพาะ (Unique Code) เพื่อสามารถจัดส่งรวมกันไปในย่านความถี่เดียวกันได้ และด้วยลักษณะการทำงานเช่นนี้ การใช้ทรัพยากรความถี่จึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบ CDMA จะมีการใช้งานย่านความถี่ตลอดย่าน โดยมีการเข้ารหัสของข้อมูล (Code) ซึ่งรหัสของช่องสัญญาณนั้นจะแตกต่างกัน หลังจากนั้น ข้อมูลของทุกช่องสัญญาณจะถูกส่งปะปนไปบนย่านความถี่เดียวกัน และท้ายที่สุด ข้อมูลที่ปะปนกันดังกล่าวจะถูกแยกออกมาได้ โดยอุปกรณ์ปลายทาง ที่ใช้รหัสชุดเดียวกับข้อมูลในช่องสัญญาณเดียวกันด้วยคุณสมบัติทางเทคนิคดังกล่าว ระบบ CDMA จึงรองรับจำนวนผู้ใช้ในคลื่นความถี่ต่อเมกะเฮิรตซ์มากกว่าระบบอื่นๆ นั่นหมายความว่า CDMA สามารถรองรับปริมาณคู่สายได้มากกว่า โดยที่ไม่จำเป็นต้องเพิ่มย่านความถี่ใหม่ และถือเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่ามากกว่า นอกจากนี้ ข้อดีอื่นๆ ของ CDMA คือ ปัญหาสายหลุดระหว่างการใช้โทรศัพท์จะลดน้อยลง เนื่องจากระบบ CDMA มีความทนทานต่อสัญญาณรบกวนสูง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสายซ้อน สายหลุด เสียงขาดหาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นบ่อยครั้งบนระบบ TDMA (GSM) ในกรณีที่เสาสัญญาณของผู้ให้บริการรายต่างๆ ได้ติดตั้งไว้ใกล้กัน จนเกิดการรบกวนของสัญญาณขึ้น
……………………
ในปัจจุบัน ระบบ CDMA เวอร์ชันที่เรากำลังใช้งานอยู่คือ CDMA 2000 1X (ซีดีเอ็มเอ ทูเทาซันด์ วันเอ็กซ์) ระบบ CDMA ตัวนี้ จัดเป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ความเร็วสูง ที่สามารถตอบสนองการทำงานมัลติมีเดียแบบครบวงจร CDMA 2000 1X มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดประมาณ 300 กิโลบิตต่อวินาที (ใช้งานจริง 150 กิโลบิตต่อวินาที) ซึ่งสามารถรองรับการติดต่อสื่อสารด้วยบริการต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารที่มีประโยชน์ หรือข้อมูลแบบมัลติมีเดีย เช่น การส่งไฟล์ภาพดิจิตอล เล่นเกม หรือ ร้องคาราโอเกะ เป็นต้น ในขณะที่ ในยุคต่อไป จะเป็นยุคที่นำเอา CDMA 2000 1XEV-DO มาใช้งาน โดยเทคโนโลยีตัวนี้ สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึงระดับ 2 เมกะบิตต่อวินาที และจัดเป็นความเร็วสำหรับยุค 3G อย่างแท้จริงนอกจากประสิทธิภาพการส่งข้อมูลของระบบ CDMA ที่สูงกว่าระบบ TDMA (สามารถรองรับกับยุค 3G ได้ทันที) หรือการใช้งานคลื่นความถี่ได้อย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพ ข้อดีอีกข้อหนึ่งสำหรับผู้ลงทุนคือ การลงทุนของผู้ให้บริการรายใหม่ๆ จะมีความคุ้มค่าในระยะยาวมากกว่า เนื่องจากการลงทุนสำหรับสถานีฐานของผู้ให้บริการ จะเป็นการลงทุนใหม่เพียงครั้งเดียว และสามารถรองรับการใช้งานบนมาตรฐาน 3G ได้เลย ดังนั้น CDMA จึงเป็นโอกาสอันดีของผู้ลงทุนใหม่ ที่สามารถวางเครือข่าย CDMA และสามารถใช้งานเทคโนโลยียุค 3G อันเปี่ยมประสิทธิภาพได้